5 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับภูฏาน

หากพูดถึงประเทศภูฏานอาจจะเป็นประเทศที่หลายๆ ท่านใฝ่ฝันอยากจะเดินทางไปเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิตค่ะ แต่เนื่องด้วยข้อมูลเกี่ยวกับประเทศภูฏานนั้นมีไม่มากนักจึงทำให้มีหลายท่านเข้าใจประเทศภูฏานผิดในบางเรื่อง
Bhutan Center จึงรวบรวมสิ่งที่คนไทยมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเทศภูฏาน จากคำถามที่เพื่อนๆ ของเราได้สอบถามกันเข้ามาบ่อยๆ มาตอบคำถามให้ทุกท่านเพื่อเป็นความรู้กันค่ะ
1. ภูฏานไม่ได้จำกัดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศต่อปี
ประเทศภูฏานนั้นไม่มีนโยบายจำกัดนักท่องเที่ยวอย่างที่หลายๆ ท่านเคยได้ยินมาว่าต้องจองคิวเพื่อดำเนินการทำวีซ่าเข้าประเทศ แท้ที่จริงแล้วนั้นเป็นเพียงการจำกัดนักท่องเที่ยวโดยทางอ้อม จากจำนวนสายการบินที่สามารถบินเข้าประเทศภูฏานได้มีเพียง 2 สายการบิน คือ Bhutan Airlines และ Drukair, ขนาดของเครื่องบิน, จำนวนนักบินที่ได้รับอนุญาตให้บินเข้าภูฏานมีเพียงไม่กี่ท่าน และจุดเริ่มต้นในการเดินทางไปภูฏานมีเพียงไม่กี่ประเทศ เช่น ไทย (กรุงเทพฯ), อินเดีย (เดลี, กัลกาตาร์, คยา), เนปาล, สิงคโปร์ เป็นต้น จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างพากันจับจองที่นั่งว่างที่มีอยู่อย่างจำกัด
ฉะนั้น หากต้องการเดินทางไปภูฏานอันดับแรกควรจะเช็คที่นั่งว่างและจองที่นั่งกับสายการบินก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเดินทางได้ค่ะ ส่วนเรื่องการทำวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวนั้นง่ายมากเลยค่ะ เพียงแค่ท่านถ่ายรูปหรือแสกนหน้าพาสปอร์ตของท่านให้แก่บริษัททัวร์ เพียงแค่นั้นท่านก็สามารถเดินทางไปยังภูฏานได้เลยค่ะ
นอกจากนั้น รายได้หลักของประเทศภูฏานนั้นมาจากการท่องเที่ยวเป็นลำดับต้นๆ การที่นักท่องเที่ยวไปเที่ยวประเทศภูฏานจึงเป็นการช่วยทำบุญจากค่าเหยียบแผ่นดินที่ท่านได้จ่ายให้กับรัฐบาลภูฏานเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศค่ะ
2. ไม่จำเป็นต้องไปภูฏานกับกรุ๊ปทัวร์เท่านั้น
กระแสการท่องเที่ยวแบบส่วนตัวนั้นกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่การที่ท่านจะเข้าประเทศภูฏานได้นั้นท่านจำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์หรือเพื่อนชาวภูฏานเชิญให้เข้าประเทศเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงต้องติดต่อบริษัททัวร์เพื่อดำเนินการจองตั๋วเครื่องบิน, ที่พัก, คนนำเที่ยวท้องถิ่น, ยานพาหนะ และดำเนินการขอวีซ่าให้กับท่าน
โดยบางบริษัททัวร์สามารถจัดแพคเกจทัวร์สำหรับกลุ่มส่วนตัวให้กับท่านและเพื่อนๆ หรือครอบครัวของท่านได้เพลิดเพลินในภูฏานอย่างเป็นกันเอง โดยที่แพคเกจส่วนตัวนั้นมีราคาไม่ได้แตกต่างมากนัก แต่ท่านสามารถเลือกวันเดินทาง หรือปรับโปรแกรมสถานที่เองได้ เพียงแค่ท่านต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับไกด์ชาวท้องถิ่นได้ แต่หากท่านไม่มั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ จะเหมาะกับกรุ๊ปใหญ่มากกว่าเพราะจะมีหัวหน้าทัวร์คนไทยเดินทางไปอำนวยความสะดวกแก่ท่านด้วยค่ะ
3. ภูฏานสามารถเที่ยวได้ทุกฤดู ไม่เฉพาะช่วง High Season
ภูฏานนั้นมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม – พฤษภาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน – พฤศจิกายน) ซึ่งจะเป็นช่วง High Season และ ฤดูร้อน (มิถนายน – สิงหาคม) ฤดูหนาว (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วง Low Season โดยในแต่ละฤดูนั้นมักจะมีความโดดเด่น สวยงามและมีเอกลักษณ์ของธรรมชาติเฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับว่าท่านชอบแบบไหนค่ะ
- ฤดูใบไม้ผลิ นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความงามของดอกไม้ เบ่งบานกันทั้งหุบเขา ทั้งดอกกุหลาบพันปี ดอกศรีตรัง ดอกบ๊วย เป็นต้น
- ฤดูร้อน มักจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวน้อยไม่พลุกพล่าน เหมาะสำหรับผู้ที่อยากไปชมความสงบของภูฏาน
- ฤดูใบไม้ร่วง ท้องทุ่งในภูฏานจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอร่าม อีกทั้งอากาศไม่หนาวมากจนเกินไป
- ฤดูหนาว เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น อาจมีหิมะบ้าง ท้องฟ้าในฤดูนี้จะแจ่มใสที่สุด เทือกเขาหิมาลัยจะปรากฎโฉมให้ท่านได้ยลโฉม
4. ไม่ต้องกลัวว่าออกซิเจนที่ภูฏานมีไม่เพียงพอหรือจะเป็นโรคแพ้ความสูง (Altitude Sickness)
ประเทศภูฏานนั้นแม้จะตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาหิมาลัย แต่ความสูงของแต่ละเมืองในโปรแกรมเที่ยวทั่วไปที่นักท่องเที่ยวไปเยือนนั้นโดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 2,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งความสูงเทียบเท่ากับดอยอินทนนท์ในประเทศไทย หากเทียบกับทิเบต (เฉลี่ย 4,500 เมตร) และ เมืองเลห์ และ ลาดักห์ (เฉลี่ย 3,500 เมตร) ซึ่งมักจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากป่วยเป็นโรคกลัวความสูง แล้วมีโอกาสน้อยมากที่นักท่องเที่ยวที่ไปภูฏานจะมีสภาพออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือป่วยเป็นโรคกลัวความสูง นอกจากนั้น ประเทศภูฏานยังมีนโยบายในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ให้มีพื้นที่มากกว่า 60% ของประเทศ ซึ่งทำให้มั่นใจได้เลยว่าอากาศที่ประเทศภูฏานนั้นมีความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง จนมีภาวะคาร์บอนสุทธิติดลบเลยค่ะ
5. วัดทักซังไม่ได้ขึ้นยากเกินไปหากใจเกินร้อย
วัดทักซังหรือวัดถ้ำเสือนั้นถือเป็นไฮไลท์ของผู้ที่ไปเยือนภูฏานทุกคนต้องไป ตามสถิติของผู้ที่อายุเยอะที่สุดที่สามารถเดินขึ้นวัดทักซังได้นั้นอายุมากถึง 82 ปี ซึ่งเชื่อว่าทุกท่านสามารถเดินทางไปพิชิต
ระยะทางจากวัดทักซังนั้นแบ่งเป็น 3 ช่วงหลักๆ ดังนี้
- ช่วงแรก จากจุดจอดรถถึงเบสแคมป์ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรค่อนข้างสูงชัน โดยช่วงนี้ท่านสามารถขึ้นม้าเฉพาะขาขึ้น (สอบถามราคาที่บริษัททัวร์) เมื่อถึงเบสแคมป์แล้วท่านสามารถพักเข้าห้องน้ำและจิบชาร้อนได้ก่อนจะเดินทางต่อช่วงต่อไป
- ช่วงที่สอง จากเบสแคมป์ถึงจุดชมวิว ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร
- ช่วงสุดท้าย เป็นขั้นบันไดลง 150 ขั้น และขึ้น 150 ขั้น ช่วงนี้จะท่านอาจจะเหนื่อยนิดหน่อย เคล็ดไม่ลับนั้นหากท่านเหนื่อยให้ท่านยืนอยู่กับที่นิ่งๆ แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ อย่าเพิ่งนั่งเพราะจะทำให้ท่านรู้สึกหมดแรงและเหนื่อยมากขึ้นค่ะ
แต่สำหรับขาลงจากวัดทุกคนต้องเดินลงอย่างเดียวครับ นอกจากนั้นหากท่านเมื่อยล้าหลังจากเดินทั้งวันสามารถลองไปใช้บริการแช่ Hot stone bath ได้นะคะ โดยราคาสามารถสอบถามจากไกด์หรือบริษัททัวร์เพิ่มเติมค่ะ
Bhutan Center ผู้เชี่ยวชาญทัวร์ภูฏานส่วนตัว ยินดีให้ข้อมูลและนำท่านท่องเที่ยวภูฏาน ดินแดนแห่งความสุข
ติดต่อเรา โทร 02-630-4500 หรืออีเมล์ info@bhutancenter.com
+ แสดงความคิดเห็น
[…] ทุกคนอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเทศภูฏานว่าจำกัดนักท่องเที่ยว […]