สิ่งที่ควรเตรียมความพร้อมในการเดินทางท่องเที่ยวภูฎาน คือ
- เตรียมเสื้อกันหนาว / หมวก / ถุงมือ / ผ้าพันคอ
- ครีมทาผิว / ลิปมัน
- กรณีที่มีโรคประจำตัว ให้พกยาติดมาด้วย
- ยาแก้เมารถ (บางเส้นทาง มีทางคดเคี้ยว)
- กล้องถ่ายรูป
- รองเท้าผ้าใบที่สวมใส่สบายเหมาะสำหรับการเดินทางขึ้นเขา
- Passport
การแต่งกาย
- การสวมเสื้อผ้า ขอให้เป็นเสื้อเชิ๊ตแบบมีปก ในการเข้าซองหรือวัดของประเทศภูฏาน หากเป็นเสื้อคอกลม สามารถใส่ได้ แต่ต้องมีเสื้อแจ๊คเก็ตสวมทับหรือจะเป็นผ้าพันคอก็ได้
- กางเกง เน้นเป็นกางเกงขายาว ไม่ใส่เหนือเข่า ระเบียบจะคล้ายกับการเข้าวัดพระแก้ว
- รองเท้าควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น หรือรองเท้าผ้าใบเพราะสะดวกต่อการทำกิจกรรมต่างๆ
เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของประเทศภูฏาน จะเป็น ซอง หรือ ป้อมปราการ (ซองจะมีลามะ จำพรรษาอยู่ที่นั่นเป็นจำนวนมาก) ซึ่งสมควรที่จะต้องแต่งกายสุภาพไม่สมควรสวมใส่กางเกงขาสั้น ควรสวมกางเกงขายาวที่รัดกุมและนั่งสะดวก
ข้อมูลควรรู้ก่อนเที่ยวภูฎาน
- กระเป๋าเดินทาง
- กระเป๋านํ้าหนักไม่เกิน 30 กิโลกรัมสำหรับชั้นเดินทางประหยัด
- กระเป๋านํ้าหนักไม่เกิน 40 กิโลกรัมสำหรับชั้นเดินทางธุรกิจ
- กระเป๋าติดตัวขึ้นเครื่องบินได้นํ้าหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม
กฎข้อบังคับที่เข้มงวดของสายบินเพิ่มเติม คือ
- ห้ามนำสัมภาระที่เป็นของเหลวทุกชนิด ติดตัวขึ้นเครื่องบิน (Carry-on luggage) เช่น เครื่องดื่มทุกชนิด,โลชั่นบำรุงผิว, แชมพู, เจลใส่ผม, ยาสีฟัน เป็นต้น แต่สามารถนำสิ่งของเหล่านี้บรรจุในกระเป๋าที่จะใส่ใต้ท้องเครื่องบินได้
หมายเหตุ *****ของใช้ดังกล่าวเบื้องต้น หากซื้อใน Duty free สามารถนำขึ้นเครื่องได้*****
- บุหรี่ หากนำเข้าประเทศภูฏาน และเจ้าหน้าที่ตรวจพบเจอ ต้องเสียภาษี 100%
- เหล้า คุณสามารถซื้อได้ ที่ Dute Free ของประเทศภูฏาน ราคาไม่แพง
- อาหารเด็กและยาต่างๆ ที่เป็นของเหลว จะต้องสำแดงให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยตรวจสอบก่อนนำขึ้นเครื่อง
- โทรศัพท์มือถือสามารถนำขึ้นเครื่องได้ปกติ แต่คุณจะต้องปิดมือถือก่อนขึ้นเครื่อง
- เวลาของภูฏาน จะช้ากว่าเมืองไทย 1 ชั่วโมง
- ภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นเทือกเขา
- มีพื้นที่ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศจีน คือแคว้นทิเบตทางตอนเหนือ และประเทศอินเดียทางตอนใต้
ปรากฏภูมิประเทศ 3ลักษณะ
-เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
-ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
-ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่นํ้าพรหมบุตรพาดผ่าน
- ปัจจุบัน ภูฏานเปิดรับนักท่องเที่ยวปีละ 20,000 คน โดยมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวภูฏาน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด
- ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้ซื้อ ขายและสูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด
- ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาซองก้า ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ
- เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โค ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า คีร่า
- การปกครอง มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้การปกครองโดย พระเจ้าจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 ของราชวงศ์ดรุกยูล
- เพลงชาติ ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ 1966 ในช่วงแรกของบทเพลงจะกล่าวไว้ว่า
“In the Kingdom of the Dragon , The Southern Land of Sandalwood, Long Live the King Who Directs the affairs of both state and religion….”
- สกุลเงินของ ภูฎาน เรียกว่า เงินงุลตรัม (Ngultrum) 1 บาทเท่ากับ 1.4 NU เตรียมเฉพาะเงินไทยไปแลกที่โรงแรมได้ สามารถแลกคืนได้ถ้าใช้ไม่หมด
- สัตว์ประจำชาติ คือ ตัวทาคิน เป็นสัตว์ที่หาได้ยาก เพราะมีอยู่ที่ภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์มักจะอาศัยอยู่กับฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
- ต้นไม้และดอกไม้ประจำชาติ คือ ต้นไซปรัส นิยมปลูกกันตามวัด และ ดอกป็อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน
- นํ้าประปา ไม่ควรที่จะดื่มนํ้าโดยตรงจากก๊อกเพราะไม่ค่อยสะอาด ขอแนะนำว่าควรซื้อนํ้าขวดมาดื่ม
- กระแสไฟ ที่ใช้คือ 220 โวลท์ เป็นปลั๊กชนิด 3 ขา
- อาหารประจำชาติ เป็นอาหารพื้นบ้านที่เรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมาก อาหารส่วนใหญ่ของภูฏานจะประกอบด้วย พริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือนํ้าตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบูหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เช่น ซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
- ภูฏานมีหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายสัปดาห์ 1 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ
- ชาวภูฏานจะกราบพระอริยบุคคลสามครั้ง เช่นเดียวกับที่กราบพระพุทธรูป เวลาไปเที่ยววัด ห้ามพูดเสียงดัง และต้องถอดรองเท้าออกเพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ ร่มและหมวกเป็นของต้องห้ามทั้งในวัดและซอง
- บัตรเครดิตยังมีใช้กันน้อยมาก บัตรวีซ่ากับอเมริกันเอ็กเพรสนั้นมีร้านในทิมพูยอมรับอยู่ไม่กี่ร้าน
- อินเตอร์เน็ต บางโรงแรมมีบริการให้กับลูกค้า โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
- โทรศัพท์สาธารณะในภูฎาน เพื่อความสะดวกกรุณาติดต่อกับทางโรงแรมที่ท่านพัก บางโรงแรมมีซิมจำหน่ายให้กับลูกค้า ในราคา 200 บาท คิดนาทีละ 7 Nu (นุลตรัม) จากภูฏาน โทรเข้ามาเมืองไทย ซึ่ง 1 บาทไทย เท่ากับ 1.4 นุลตรัมของประเทศภูฏาน
-หากจะโทรศัพท์มาประเทศไทยด้วยโทรศัพท์จะต้องหมุน 001 + 66 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ
-หากจะโทรศัพท์จากประเทศไทยสู่ประเทศภูฎาน จะหมุน 001 + 975 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ
22. ระบบไปรษณีย์ของภูฎานค่อนข้างช้า แต่เชื่อถือได้ จดหมายที่ส่งไปยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกา คิดค่าส่ง 20 นุลตรัมเช่นกัน แต่ถ้าส่งไปอินเดีย เนปาล และในภูฎานเองจะคิดแค่ 5 นุลตรัมเท่านั้น โดยปกติแล้วจดหมายจะใช้เวลาราว 1 สัปดาห์ถึง 10 วันในการส่งไปยุโรปและญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นอเมริกาและออสเตรเลียจะใช้เวลา 3 สัปดาห์ ส่วนการส่งพัสดุภัณฑ์นั้น (นํ้าหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม) ควรส่งแบบลงทะเบียน ถ้าต้องการส่งด่วนก็สามารถใช้บริการของ DHL ที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงทิมพู หรือจะใช้บริการ EMS ของสำนักงานไปรษณีย์กลางก็ได้เช่นกัน
23. สิ่งของที่น่าซื้อของภูฏาน
- ทักโซ (Thagzo) เป็นผ้าทอมือที่ชาวบ้านทำเองทุกขั้นตอน
- แสตมป์ภูฏาน มีชื่อเสียงไปทั่วโลก หากสนใจแนะนำให้ไปแวะซื้อหาได้ที่ สำนักงานไปรษณีย์ในทิมพู
- เครื่องประดับอัญมณีและเครื่องเงิน เช่นภาชนะใส่สุราที่ทำจากไม้ หุ้มด้วยเงินแล้วดุนลายประดับกับเชื่ยนหมาก ซึ่งประกอบด้วยกล่องชุดสี่เหลี่ยมแบ่งเป็นกล่องใส่ใบพลูและกล่องใส่ลูกหมาก กับตลับใส่ปูนกลมๆ เล็กๆ อีกใบหนึ่ง
- เครื่องประดับของชนเผ่าต่างๆ งานเครื่องไม้ เช่นของตกแต่งผนังกําแพง และโต๊ะเล็กๆ ที่เรียกว่า โชดม หน้ากากมีทั้งหน้ากากหน้ามนุษย์ หน้าสัตว์ และหน้าเทพเจ้าที่ใช้ในระบำทางศาสนา เป็นต้น
- เครื่องจักสานจากหวายและไม้ไผ่
- แยม ชีส หรือ มันฝรั่ง
สถานที่ช้อปปิ้งในทิมพู
- ร้านเอโธ เมโธ (Etho Metho) ตั้งอยู่ชั้นล่างของบริษัทนำเที่ยว เอโธ เมโธ ตรงข้ามกับโรงหนัง
- ศูนย์ศิลปหัตถกรรมแฮนดิคราฟท์ เอ็มโพเรี่ยม (Handicraft Emporium) อยู่ถัดจากธนาคารขึ้นไป บนถนนสายหลักของเมือง
- ร้านหนังสือห้องสมุดแห่งชาติ (National Library Bookshop) อยู่ตรงข้ามกับธนาคารบนถนนสายหลัก
- ร้านหนังสือเพ็กกัง (Pekhang Bookshop) อยู่ด้านข้างของโรงหนัง
- ร้านศิลปหัตถกรรม เปลจอร์คัง (Peljorkhang Handicraft) อยู่ตรงศูนย์การค้าใจการเมือง
- ตลาดซันเดย์ (Sunday Market) จะอยู่ใกล้กับแม่นํ้า เปิดตอนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
- ทเชอริง ดรอลการ์ (Trhering Drolkar) อยู่ตรงข้ามกับโรงหนัง และอาคารการท่องเที่ยวภูฏาน ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเมือง
ภูมิอากาศ เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศกลางวัน 25 – 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 – 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
- ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
- ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
- ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
- ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า โดยเฉพาะมกราคม อาจมีหิมะตก